เมื่อก่อนอาชีพของคนไทยส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นคนพื้นเมือง (ทางเหนือ) คนบนดอย (ชาวเขา) ล้วนแล้วจะทำไร่ ทำนา กันทั้งนั้น และในการดำเนินอาชีพเกษตรกรรม นี่เอง ก็จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะมาช่วยในการหาเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็น ธนู ไว้ล่าสัตว์และปกกันตัว หน้าไม้ก็เช่นกัน มีกระบุง หรือตระกร้า ไว้ขนข้าวหรือของต่างๆ มีน้ำคอก (กระบอกไม้ไผ่) ไว้ใส่น้ำดื่ม มีหนังสติ๊กไว้ไล่กา โกงกาง เดินกะลา ลูกข่าง ไว้ละเล่น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ นำมาเผยแพร่เพื่อการแสดง หรือเป็นของจำลองเท่านั้น ไม่ได้เป็นอาวุธจริง สามารถนำมาประกอบการแสดงต่างๆ เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือวิถีชีวิตของป่าคนดอยได้เป็นอย่างดี ลองมาดูของแต่ละชนิดกันเลยว่ามีอะไรบ้าง สนใจ ติดต่อมาทางเว็บไซต์ได้เลยครับ ยินดีให้บริการครับ

          ตระกร้าหรือกระบุง      

ตระกร้าหรือกระบุง เป็นเครื่องสานทรงสูง ปากตระกร้ากลมหรือรีๆนิยมใช้ในกลุ่มของชาวกะเหรียง ชาวม้ง ชาวขมุ และชาวลัวะ ลักษณะของตระกร้าหรือกระบุงนี้แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชาติพันธ์ุ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น “เป๊อะ” ในบางพื้นที่ คำว่า “เป๊อะ มี 2 ความหมายคือ หมายถึงภาชนะใส่ของและวิธีการแบกโดยใช้ศีรษะหรือบ่าในการรับน้ำหนัก) “ก๋วย”  ”กี” เป็นต้น ที่มา http://www.sri.cmu.ac.th/~postharvest/1/1_5_1_3.htm

     หน้าไม้

หน้าไม้ คืออุปกรณ์ใช้สำหรับล่าสัตว์ ป้องกันตัว สำหรับคนป่าคนดอย (ตามรูปใช้ในการโชว์ หรือแสดงเท่านั้น)

                    ธนู

ธนู  ธนูไม่ได้เป็นอาวุธระยะไกลชนิดแรกที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น มันได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากหนังสติ๊กและหอกพุ่งแหลน ธนูเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการล่าสัตว์และป้องกันตัวตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ โดยเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อการดำรงชีพและการทหารของมนุษย์ในยุคโบราณ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หนังสติ๊ก เป็นอาวุธยิงวิถีโค้งด้วยมือ ขนาดเล็ก ทำจากไม้ง่าม โดยมียาง 2 เส้นยึดอยู่ที่ง่ามทั้งสอง อีกด้านของยางทั้งสองเส้นจะติดกับแถบหนังที่ใช้ใส่สิ่งของที่จะยิงออกไป ผู้ที่จะทำการยิง จะจับตัวด้ามไม้ด้วยมือข้างที่ถนัด ใส่สิ่งของ (เช่นลูกกระสุนดินเหนียวปั้นกลมลูกแก้วลูกปืน หรือ ก้อนหิน) ไว้ที่แถบหนัง กำแถบหนังไว้ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ดึงให้ยืดออกตามความแรงที่ต้องการ เล็งให้ตรงเป้าหมาย แล้วจึงปล่อยแถบหนัง สิ่งของที่ใส่ไว้ก็จะถูกดีดออกไปกระทบเป้าหมาย

โก๋งเก๋ง เป็นของเล่นพื้นบ้านของไทยที่ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นขาเดิน 2 ข้าง เพื่อใช้ก้าวเดินจะทำให้สูงขึ้น มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปแต่ละพื้นที่

 

การเล่นเดินกะลา เด็กรุ่นก่อนๆ จะชอบเล่นเดินกะลามาก เพราะกะลาหาง่าย มีอยู่ทั่วไป การเดินบนกะลานั้น ผู้ที่เริ่มฝึกจะรู้สึกเจ็บฝ่าเท้า เพราะความโค้งมนและความแข็งของกะลา แต่ถ้าได้ฝึกบ่อยๆ อาการเจ็บก็จะหายไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเท้าแข็งแรงขึ้นและยังเป็นการนวดฝ่าเท้าไปในตัวด้วย นอกจากนี้ผู้เล่นจะฝึกในเรื่องของการทรงตัว ซึ่งจะทำให้เรียนรู้เรื่องของความสมดุล หรือ Balance ไปในตัวอีกด้วย คนที่รักษาสมดุลของร่างได้ดีก็จะทรงตัวได้ดีและมักจะถึงเส้นชัยก่อน นอกจากนี้ถ้าเล่นเดินจนเบื่อแล้วก็ยังสามารถเอามาเล่นเป็นโทรศัพท์พูดแล้วได้ยินเสียงกันได้เรียนรู้เรื่องของเสียงได้อีกด้วยอยากลองประดิษฐ์เล่นแล้วใช้ไหมละครับ ลองทำเล่นดูนะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/article-10602-เดินกะลา…คลังปัญญาไทย….html

     

น้ำเต้ายักษ์ หรือ หมากน้ำ

“น้ำเต้าผลยาวยักษ์” เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเอง ชาวไทยใหญ่ที่ให้เมล็ดพันธุ์เรียกว่า “หมากน้ำ” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับน้ำเต้าทั่วไปทุกอย่าง อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE ซึ่งน้ำเต้ามีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ แต่ละพันธุ์จะแตกต่างกันที่รูปทรงของผล และ “น้ำเต้าผลยาวยักษ์” หรือ “หมากน้ำ” จัดเป็น 1 ใน 4 สายพันธุ์ดังกล่าวด้วย เป็นไม้เถาเลื้อย ดอก เป็นสีขาวหรือสีเหลืองอมเขียว “ผล” รูปทรงคล้ายผลฟัก มีขนาดใหญ่มากตามภาพเสนอประกอบคอลัมน์ มีเมล็ดจำนวนมาก ติดผลตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ใช้ใส่อาหาร น้ำดื่มเพื่อไปทำงานได้

น้ำคอก (ทางเหนือ)

กระบอกไม้ไผ่ หรือ “ทีเต่อ” เป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากลำไม้ไผ่ (หว่ากรึ) ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในชุมชนกะเหรี่ยง ประโยชน์ของ “ทีเต่อ” คือเพื่อบรรจุน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภคในครัวเรือนและเวลาไปทำงานในไร่ในนา เพื่อความคงทนในการใช้งาน ลำไผ่ที่นำมาทำกระบอกไม้ไผ่นั้นจะต้องมีอายุมากกว่า 2 ปี กับจะต้องดูที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวของปล้องไผ่ที่ต้องการด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานซึ่งมีทั้งผู้ใหญ่และเด็ก อย่างไรก็ตามกระบอกไม้ไผ่ หรือ “ทีเต่อ” จะมีเสน่ห์ที่กลิ่นของไผ่ตามชนิดและอายุของการใช้งาน

อ่านต่อเพิ่มเติมและขอบคุณ ที่มา https://sites.google.com/a/hilltribe.org/home/chn-phea/kaheriyng/kar-pluk-khaw-ri-hmunweiyn-1/krabxkmiphithitex

ลูกข่าง ในประเทศไทย ลูกข่างถือเป็นการละเล่นไทยชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นโดยการผูกด้วยเชือก และขว้างลูกข่างลงพื้นให้เกิดการหมุน โดยมีกติกาการเล่น (1) หากขว้างลูกข่างไม่หมุนหรือออกนอกวงถือว่าแพ้ (2) ผู้แพ้จะต้องนำลูกข่างของตนวางในวงกลมเพื่อให้คนอื่นใช้ลูกข่างที่พันเชือกขว้างไปบนลูกข่างนั้นเป็นการลงโทษ

 

                 

              

ฟอร์มูล่าม้ง ชาวม้งจะอาศัยอยู่บนเขาบนดอยตามภาคเหนือ มีอาชีพหลักคือทำไร่ทำสวน และในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีน้ำปะปาและไฟฟ้าใช้ จึงต้องมีการเข้าป่าเพื่อหาฟืน ตักน้ำจากแม่น้ำมาใช้ดำรงชีวิต ดังนั้นเวลาจะขนย้ายสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ก็ต้องเดินเท้าขึ้นลงเขาเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เพื่อนำของมากินใช้ที่บ้าน พวกเขาจึงมีการคิด “เครื่องทุ่นแรง” ขึ้นมาใช้ โดยการนำ “เศษไม้” ที่หาได้ในพื้นที่ มาดัดแปลงกลายเป็น “รถล้อเลื่อนไม้” หรือ “รถม้ง” ที่ตัวรถทุกอย่างทำขึ้นจากไม้รวมถึงล้อด้วย ขนาดของรถประมาณ 1×2 เมตร สามารถนั่งขับได้สบายๆ 1 คน และมีที่สำหรับวางของที่จะเคลื่อนย้ายด้านหลังได้
ตัวรถจะไม่มี “พวงมาลัย” เพื่อบังคับซ้ายขวา แต่จะใช้ “ขา” ยันที่ตัวเพลาล้อในการบังคับทิศทางแทน ส่วนการ “หยุดรถ” นั้นจะใช้การดึง “เบรกมือ” ที่มีลักษณะคล้ายเกียร์ของรถยนต์นั่นเอง ขอบคุณข้อมูลจาก MGR ONLINE https://mgronline.com/travel/detail/9600000125664